เทคนิคในการอ่านภาษาอังกฤษ

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

กรอ่านภาษอังกฤษ

เทคนิคการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ (Reading Skill)
.......การอ่านภาษาอังกฤษ มี 2 ลักษณะ คือ การอ่านออกเสียง (Reading aloud) และ การอ่านในใจ (Silent Reading ) การอ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง (Accuracy) และความคล่องแคล่ว ( Fluency) ในการออกเสียง ส่วนการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่อ่านซึ่งเป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นเดียวกับการฟัง ต่างกันที่ การฟังใช้การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน ในขณะที่การอ่านจะใช้การรับรู้จากตัวอักษรที่ผ่านสายตา ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถเพิ่มพูนขึ้นได้ ด้วยเทคนิควิธีการโดยเฉพาะ ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการอ่านให้แก่ผู้เรียนอย่างไรเพื่อให้การอ่านแต่ละลักษณะประสบผลสำเร็จ

เทคนิคการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ (Reading Skills)

การอ่านภาษาอังกฤษ มี 2 ลักษณะ คือ การอ่านออกเสียง (Reading aloud) และ การอ่านในใจ (Silent Reading ) การอ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง (Accuracy) และความคล่องแคล่ว ( Fluency) ในการออกเสียง ส่วนการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่อ่านซึ่งเป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นเดียวกับการฟัง ต่างกันที่ การฟังใช้การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน ในขณะที่การอ่านจะใช้การรับรู้จากตัวอักษรที่ผ่านสายตา ทักษะการอ่านภาษา อังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถเพิ่มพูนขึ้นได้ ด้วยเทคนิควิธีการโดยเฉพาะ ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการอ่านให้แก่ผู้เรียนเพื่อให้การอ่านแต่ละลักษณะประสบผลสำเร็จ

1. เทคนิควิธีปฎิบัติ
1.1 การอ่านออกเสียง การฝึกให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงได้อย่าง ถูกต้อง และคล่องแคล่ว ควรฝึกฝนไปตามลำดับ โดยใช้เทคนิควิธีการ ดังนี้
(1) Basic Steps of Teaching ( BST) มีเทคนิคขั้นตอนการฝึกต่อเนื่องกันไปดังนี้
- ครูอ่านข้อความทั้งหมด 1 ครั้ง / นักเรียนฟัง
- ครูอ่านทีละประโยค / นักเรียนทั้งหมดอ่านตาม
- ครูอ่านทีละประโยค / นักเรียนอ่านตามทีละคน ( อาจข้ามขั้นตอนนี้ได้ ถ้านักเรียนส่วนใหญ่อ่านได้ดีแล้ว)
- นักเรียนอ่านคนละประโยค ให้ต่อเนื่องกันไปจนจบข้อความทั้งหมด
- นักเรียนฝึกอ่านเอง
- สุ่มนักเรียนอ่าน
(2) Reading for Fluency ( Chain Reading) คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนอ่านประโยคคนละประโยคอย่างต่อเนื่องกันไป เสมือนคนอ่านคนเดียวกัน โดยครูสุ่มเรียกผู้เรียนจากหมายเลขลูกโซ่ เช่น ครูเรียก Chain-number One นักเรียนที่มีหมายเลขลงท้ายด้วย 1,11,21,31,41, 51 จะเป็นผู้อ่านข้อความคนละประโยคต่อเนื่องกันไป หากสะดุดหรือติดขัดที่ผู้เรียนคนใด ถือว่าโซ่ขาด ต้องเริ่มต้นที่คนแรกใหม่ หรือ เปลี่ยน Chain-number ใหม่
(3) Reading and Look up คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยใช้วิธี อ่านแล้วจำประโยคแล้วเงยหน้าขึ้นพูดประโยคนั้นๆ อย่างรวดเร็ว คล้ายวิธีอ่านแบบนักข่าว
(4) Speed Reading คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ การอ่านแบบนี้ อาจไม่คำนึงถึงความถูกต้องทุกตัวอักษร แต่ต้องอ่านโดยไม่ข้ามคำ เป็นการฝึกธรรมชาติในการอ่านเพื่อความคล่องแคล่ว( Fluency) และเป็นการหลีกเลี่ยงการอ่านแบบสะกดทีละคำ
(5) Reading for Accuracy คือ การฝึกอ่านที่มุ่งเน้นความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียง ทั้ง stress / intonation / cluster / final sounds ให้ตรงตามหลักเกณฑ์ของการออกเสียง ( Pronunciation) โดยอาจนำเทคนิค
Speed Reading มาใช้ในการฝึก และเพิ่มความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียงสิ่งที่ต้องการ จะเป็นผลให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านได้อย่างถูกต้อง (Accuracy) และ คล่องแคล่ว( Fluency) ควบคู่กันไป
1.2 การอ่านในใจ ขั้นตอนการสอนทักษะการอ่าน มีลักษณะเช่นเดียวกับขั้นตอนการสอนทักษะการฟัง โดยแบ่งเป็น 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading) กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ ขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading) กิจกรรมหลังการอ่าน(Post-Reading) แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้
1) กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading) การที่ผู้เรียนจะอ่านสารได้อย่างเข้าใจ ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่จะได้อ่าน โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท ก่อนเริ่มต้นอ่านสารที่กำหนดให้ โดยทั่วไป มี 2 ขั้นตอน คือ
ขั้น Personalization เป็นขั้นสนทนา โต้ตอบ ระหว่างครู กับผู้เรียน หรือ ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน เพื่อทบทวนความรู้เดิมและเตรียมรับความรู้ใหม่จากการอ่าน
ขั้น Predicting เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนคาดเดาเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน โดยอาจใช้รูปภาพ แผนภูมิ หัวเรื่อง ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะได้อ่าน แล้วนำสนทนา หรือ อภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆ หรือ อาจฝึกกิจกรรมที่เกี่ยวกับคำศัพท์ เช่น
ขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่าน หรือ อ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะได้อ่าน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้อ่านสารเกี่ยวกับเรื่องใด เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการอ่าน และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการอ่านสารนั้นๆ หรือ ทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งจะปรากฎในสารที่จะได้อ่าน โดยอาจใช้วิธีบอกความหมาย หรือทำแบบฝึกหัดเติมคำ ฯลฯ
2) กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ กิจกรรมขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่อ่านสารนั้น กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการอ่าน แต่เป็นการ “ฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ” กิจกรรมระหว่างการอ่านนี้ ควรหลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ เช่น การฟัง หรือ การเขียน อาจจัดกิจกรรมให้พูดโต้ตอบได้บ้างเล็กน้อย เนื่องจากจะเป็นการเบี่ยงเบนทักษะที่ต้องการฝึกไปสู่ทักษะอื่นโดยมิได้เจตนา กิจกรรมที่จัดให้ในขณะฝึกอ่าน ควรเป็นประเภทต่อไปนี้
Matching คือ อ่านแล้วจับคู่คำศัพท์ กับ คำจำกัดความ หรือ จับคู่ประโยค เนื้อเรื่องกับภาพ แผนภูมิ
Ordering คือ อ่านแล้วเรียงภาพ แผนภูมิ ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน หรือ เรียงประโยค (Sentences) ตามลำดับเรื่อง หรือเรียงเนื้อหาแต่ละตอน ( Paragraph) ตามลำดับของเนื้อเรื่อง
Completing คือ อ่านแล้วเติมคำ สำนวน ประโยค ข้อความ ลงในภาพ แผนภูมิ ตาราง ฯลฯ ตามเรื่องที่อ่าน
Correcting คือ อ่านแล้วแก้ไขคำ สำนวน ประโยค ข้อความ ให้ถูกต้องตามเนื้อเรื่องที่ได้อ่าน
Deciding คือ อ่านแล้วเลือกคำตอบที่ถูกต้อง ( Multiple Choice) หรือ เลือกประโยคถูกผิด ( True/False) หรือ เลือกว่ามีประโยคนั้นๆ ในเนื้อเรื่องหรือไม่ หรือ เลือกว่าประโยคนั้นเป็นข้อเท็จจริง ( Fact) หรือ เป็นความคิดเห็น ( Opinion)
Supplying / Identifying คือ อ่านแล้วหาประโยคหัวข้อเรื่อง ( Topic Sentence) หรือ สรุปใจความสำคัญ( Conclusion) หรือ จับใจความสำคัญ ( Main Idea) หรือตั้งชื่อเรื่อง (Title) หรือ ย่อเรื่อง (Summary) หรือ หาข้อมูลรายละเอียดจากเรื่อง ( Specific Information)
3) กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาในลักษณะทักษะสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจากการอ่าน ทั้งการฟัง การพูดและการเขียน ภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการอ่านแล้ว โดยอาจฝึกการแข่งขันเกี่ยวกับคำศัพท์ สำนวน ไวยากรณ์ จากเรื่องที่ได้อ่าน เป็นการตรวจสอบทบทวนความรู้ ความถูกต้องของคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างไวยากรณ์ หรือฝึกทักษะการฟังการพูดโดยให้ผู้เรียนร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่องแล้วช่วยกันหาคำตอบ สำหรับผู้เรียนระดับสูง อาจให้พูดอภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้เขียนเรื่องนั้น หรือฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่าน เป็นต้น
2. เอกสารอ้างอิง
1. กระทรวงศึกษาธิการ. ชุดฝึกอบรมครูสอนภาษาอังกฤษ ชุดที่ 3 Teaching 4 Skills สำหรับวิทยากร: กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2539.
2. อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด. คู่มือการพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ช่วงชั้นที่ 1-2 (ป.1-ป.6) ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : บุ้ค พอยท์, 2546.
3. บทเรียนที่ได้ (ถ้ามี)
การสอนทักษะการอ่านโดยใช้เทคนิคต่างๆ ในการจัดกิจกรรมให้แก่ผู้เรียนตามข้อเสนอแนะข้างต้น จะช่วยพัฒนาคุณภาพทักษะการอ่านของผู้เรียนให้สูงขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความถี่ในการฝึกฝน ซึ่งผู้เรียนควรจะได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทักษะการอ่านที่ดี จะนำผู้เรียนไปสู่ทักษะการพูด และการเขียนที่ดีได้เช่นเดียวกัน
คำสำคัญ ( Keywords)
1. ทักษะการอ่าน
2. การอ่านออกเสียง
3. การอ่านในใจ
4. กิจกรรมในการสอนอ่าน
5. กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading)
6. กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ กิจกรรมขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading)
7. กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading)


เทคนิคการอ่านแบบ Scanning
เมื่อพูดถึงการพัฒนาการอ่านโดยฝึกเทคนิคการอ่านเร็ว หรืออ่านแบบควบคุมเวลาแล้ว ครูก็เลยอยากจะแนะนำเทคนิคการอ่านเพิ่มอีกสักเทคนิคหนึ่งเทคนิคที่เราจะคุยกันในตอนนี้เรียกว่า Scanning

Scanning เป็นทักษะการอ่านเร็วที่มีลักษณะคล้ายกับ Skimming ที่ครูแนะนำให้รู้จักกันไปแล้ว คือเป็นการกวาดตาคร่าวๆ อย่างเร็วๆ ไปบนสิ่งที่เราจะอ่านเหมือนกัน ต่างกันก็ตรง Scanning เป็นการกวาดตาอย่างรวดเร็วเพื่อหาเป้าหมายหรือข้อมูลเฉพาะอย่าง เรียกว่าเราต้องมีจุดประสงค์อยู่ในใจอย่างแน่วแน่ว่าเราต้องการรู้หรืออ่านเพื่อค้นหาอะไร

โดยปกติเราใช้เทคนิคการอ่านแบบ Scanning กับชีวิตประจำวันอยู่บ่อยๆ เช่น การดูประกาศผลสอบ ครูว่าคงไม่มีใครอ่านตั้งแต่ชื่อแรกที่ประกาศ แล้วก็อ่านไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเจอชื่อของเราหรอกนะ มีไหมที่ใครจะเริ่มต้นอ่านตั้งแต่หมายเลขหนึ่ง นางสาวบุญทิ้ง บุญชิงชัง หมายเลขสอง นายส้มหล่น สุดหม่นหมอง....ไม่มี แต่เราจะใช้เทคนิคการ Scanning คือกวาดตาคร่าวๆ โดยมีเป้าหมายคือชื่อของเราเองอยู่ในใจ แล้วเราก็ Scan หาแต่ชื่อของตัวเองโดยไม่สนใจชื่ออื่นๆที่เราไม่ได้ตั้งใจจะหา

หรือการอ่านเพื่อหาความหมายของคำศัพท์ที่ต้องการจากพจนานุกรม เราใช้เทคนิคการ Scan เหมือนกัน คงไม่มีใครเปิดอ่านตั้งแต่คำแรกในหน้าแรกหรอกจริงมั้ย เรามีเป้าหมายว่าเราต้องการหาคำศัพท์คำไหนเราก็ Scan หาคำนั้นเลย นอกจากนี้เรายังใช้เทคนิค Scanning กับการอ่านต่างในชีวิตประจำวันของเราอีก เช่นการค้นหาหัวข้อที่เราต้องการอ่านในหน้าสารบัญ การอ่านเพื่อหาข้อมูลที่ต้องการจากตาราง แผนภูมิ หรือกราฟ

ถ้าใครนึกภาพไม่ออก ลองคิดตามครูนะ

ลองนึกถึงเวลาที่คุณเข้าร้านหนังสือ เวลาที่คุณเดินเข้าไปคุณทำยังไงคะคุณดูหนังสือทุกๆ เล่มทั้งร้านเลยหรือเปล่า
ครูว่าไม่มีใครทำอย่างนี้แน่นอนเลย
แล้วเราทำยังไงกัน
ถ้าใครเข้าร้านหนังสือโดยไม่มีเป้าหมายอะไรเลย ก็แค่อยากเข้ามาดูๆ ว่าจะมีหนังสืออะไรน่าสนใจเผื่อจะซื้อกลับไปอ่านสักเล่ม ลองนึกดูสิคะว่าเราจะมีพฤติกรรมอย่างไร

คนกลุ่มนี้จะกวาดตาดูคร่าวๆดูชั้นโน้นทีดูชั้นนี้ที เรียกว่าดูไปเรื่อยๆจนกว่าจะเจอหนังสือที่โดนใจ พฤติกรรมแบบนี้นี่แหละคือเทคนิค Skimming เอ! ใช้ทักษะการ Skim แล้วจะรู้ไหมเนี่ยว่ามีหนังสืออะไรกันบ้าง

รู้สิ แต่เป็นความรู้แบบกว้างๆอาจจะรู้ว่ามีหนังสือประเภทไหนบ้างหรือรู้ว่ามีหนังสืออะไรบ้าง

แต่บางครั้งที่เราเข้าร้านหนังสือ เรามักจะมีเป้าหมายหรือจุดประสงค์อย่างชัดเจนว่าเราอยากอ่านหนังสืออะไร ( ความจริงครูน่าจะบอกว่าอยากซื้อหนังสืออะไร แต่เดี๋ยวนี้คนเข้าร้านหนังสือเพราะไปอ่านหนังสือเยอะกว่าไปซื้อซะอีก )เราก็ใช้เทคนิค Scanning คือกวาดตาอย่างมีเป้าหมายว่าวันนี้จะมาอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ เราก็จะกวาดตาหาแต่หมวดภาษาอังกฤษซึ่งเป็นเป้าหมายของเราหมวดอื่นๆ เราก็มองผ่านไป

นั่นแน่เจอแล้วหมวดภาษาอังกฤษที่เราอยากอ่าน แต่ที่หมวดนี้ก็มีหนังสืออีกเยอะมากๆ จะทำยังไงดีล่ะ เราก็ต้องใช้เทคนิคการ Scan ต่ออีกแล้ว

เราต้องรู้ว่าเป้าหมายหรือหนังสือที่เราจะมาอ่านในวันนี้คืออะไร

สมมุติอยากมาอ่านหนังสือ “ ไม่อยากท่องจำ...จะทำไงดี?” ของอาจารย์พนิตนาฏเราก็จะ Scanหาแต่เล่มที่เราต้องการเท่านั้น ถ้าสายตาจะบังเอิญไปเจอหนังสือภาษาอังกฤษเล่มอื่นๆ ก็จะไม่สนใจ แต่จะกวาดตาอย่างเร็วๆ จนเจอเล่มที่เราต้องการ

O.K. ไหม

ฟังๆดูแล้วหลายคนคงอยากจะบอกครูว่าอาจารย์ขา ทำไมอาจารย์พูดเรื่องนี้ล่ะคะ ก็เรื่องนี้มันแสนจะธรรมดา พวกเราทำอย่างนี้อยู่แล้วในชีวิตประจำวัน ก็นั่นน่ะซิ ก็ทำอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน

แล้วเวลาอ่านภาษาอังกฤษทำไมไม่ทำแบบนี้บ้าง ทำไมไม่ใช้เทคนิค Skim Scan กันบ้าง มาตั้งหน้าตั้งตาอ่านกันทุกตัวอักษร ทุกคำ แล้วก็มาบ่นว่าอ่านหนังสือช้าบ้างล่ะ อ่านหนังสือไม่รู้เรื่องบ้างล่ะเรามาลองใช้เทคนิค Skim Scan อย่างที่ครูแนะนำกันบ้างสิ

ถ้าครูจะเทียบตัวอย่างที่ครูพูดในตอนต้นกับการอ่านภาษาอังกฤษของเราก็คงคล้ายๆกับเวลาที่อาจารย์หรือเจ้านายมอบหมายให้เราไปอ่านหรือค้นคว้าข้อมูลอะไรสักอย่างในหนังสือสักเล่ม โอ้โห! เปิดมาตัวหนังสือภาษาอังกฤษเต็มพรืดไปหมดประมาณว่าแค่เห็นหน้าแรกก็เวียนหัวแล้ว เราจะทำยังไงดี ครูแนะนำให้ใช้เทคนิค Skimming ดู ( ใครสงสัยหรือไม่ได้อ่าน เทคนิค Skimming ครุขอแนะนำให้ไปหาเมื่อสองตอนที่แล้วอ่านดูนะ เพราะครูอธิบายไว้ละเอียดแล้ว ) เราจะได้เห็นภาพรวมๆ กว้างๆ ของเรื่องที่จะอ่านก่อน ซึ่งเรื่องนี้ครูจะเขียนอธิบายให้ละเอียดในตอนต่อๆไปนะ

แต่ถ้าใครมีเป้าหมายที่ชัดเจนอยู่แล้วว่าจะค้นข้อมูลอะไรหนังสือเล่มนี้เราก็มาใช้เทคนิค Scanning ดีกว่า

ส่วนจะใช้เทคนิค Scanning ในการอ่านยังไงต้องติดตามต่อตอนหน้า

ว่าแต่ว่า แล้วตอนนี้รู้แล้วหรือยังว่าเราเคยคุ้นๆกับคำว่า Scan ไหม

เคยได้ยินกันบ่อยๆ ใช่ไหม ก็ Scanner ซึ่งเป็นอุปกรณ์ไฮเทคที่ใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ไง

แล้วเจ้า Scanner คือเครื่องอะไร

ห้ามตอบเด็ดขาดเลยนะคะว่า Scanner คือเครื่องสแกน แหม ! ตอบแบบนี้ออกจะกำปั้นทุบดินไปหน่อย

แล้ว Scanner ใช้ทำอะไร

เราใช้ Scanner เพื่อ Copy โดยเลือกเอาเฉพาะรูปหรือข้อความที่เรากำหนดเป้นเป้าหมายให้เครื่องอ่านเท่านั้น ต่างกับเครื่องถ่ายเอกสาร ซึ่งเราไม่สามารถเลือกสำเนาเฉพาะรูปหรือข้อความใดๆ ได้ แต่เราจะได้สำเนาหมดทั้งหน้าเลยเรียกว่าเจ้าเครื่องถ่ายเอกสารเนี่ย ให้ดูอะไรก็ Copy มาหมดทั้งหน้า แต่ Scanner สามารถเลือกสำเนาได้เฉพาะข้อมูลที่เราต้องการ

รู้อย่างนั้นแล้วจะเป็นนักอ่านแบบเครื่องถ่ายเอกสาร หรือจะเป็น Scanner ก็ไปเลือกกันเอาเอง

เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษ
การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษใหม่อยู่เสมอจะช่วยให้ผู้เรียนสื่อสารภาษาอังกฤษได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ผู้เรียนไทยส่วนมากไม่ได้ใช้ภาษา อังกฤษในชีวิตประจำวัน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องขยายฐานคำศัพท์ภาษาอังกฤษใหม่ เรียนคำศัพท์ใหม่จากแผนผังคำศัพท์ (Vocabulary Word Maps) และ แนวทางการกำหนดคำจำกัดความ (Definition Map) อาจจะเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งของผู้เรียนไทย

อนึ่ง ในหนังสือเล่มนี้ไม่ได้กล่าวถึง “การเดาความหมายของคำศัพท์จากบริบท (Guessing meaning of words from contexts)” เนื่องจากมีผู้เขียนไว้มากแล้ว หากสนใจสามารถศึกษาได้จากห้องสมุด เช่น Strategies for Success: Key to Effective reading. 1994. Department of Foreign Languages, Mahidol University.


เรียนคำศัพท์ใหม่จากแผนผังคำศัพท์ (Vocabulary Word Maps)
แนวทางการกำหนดคำจำกัดความ (Definition Map)

ส่วนที่ II การอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ
การระดมความคิดแบบเอบีซี (ABC Brainstorm)
บรรยายด้วยภาพ (Graphic Organizers)
เน้นใจความสำคัญ (Selective Underlining)
การเน้นข้อความสำคัญ (“Annolighting” a Text)
การระดมความคิดแบบหมุนเวียน (Carousel Brainstorm)

ส่วนที่ III การวิเคราะห์ข้อมูลจากการอ่าน
แผนผังเปรียบเทียบและเปรียบต่าง (Venn Diagrams)
ตารางเปรียบเทียบและเปรียบต่าง (Comparison-Contrast Charts)
ตารางช่วยวิเคราะห์ (Thesis-Proof)
ความคิด-การพิสูจน์ (Opinion-Proof)
การวิเคราะห์แนวความคิด (Semantic Feature Analysis)

การระดมความคิดแบบเอบีซี เป็นการทำกิจกรรมก่อนนำไปสู่เรื่องที่ต้องการให้ผู้เรียนอ่าน โดยการทบทวน หรือ ดึงความรู้ที่ผู้เรียนมีอยู่แล้ว มากระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจเรื่องที่กำลังจะอ่านและเพื่อให้ผู้เรียนอ่านเรื่องนี้ได้ง่ายขึ้น

ก่อนที่ผู้สอนจะให้ผู้เรียนพูด เขียน หรือ อ่าน เรื่องๆ หนึ่ง ผู้สอนจำเป็นที่จะต้องหาวิธีรื้อฟื้นความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วของผู้เรียนผู้สอนอาจใช้เทคนิค การระดมความคิดแบบเอบีซีโดยผู้สอนให้ผู้เรียนคิดถึงคำหรือวลีที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่จะเรียน ให้ตรงกับตัวอักษรแต่ละตัวในแผ่นภาพ ABC
Brainstorm

เทคนิคการทำกิจกรรมการระดมความคิดแบบเอบีซี
เทคนิคการทำกิจกรรมการระดมความคิดแบบเอบีซี ในที่นี้แบ่งเป็น 2 กิจกรรม คือกิจกรรมการระดมความคิด แบบเอบีซีเพื่อการสอนอ่าน
และเพื่อการสอนแบบบูรณาการ

1. กิจกรรมการระดมความคิดแบบเอบีซีเพื่อการสอนอ่าน
ให้ผู้เรียนเขียนตัวอักษรเรียงตามลำดับลงไปในกระดาษโดยเว้นที่ว่างด้านขวาเอาไว้ เพื่อใช้เขียนคำหรือวลี ดูตัวอย่างในหน้า 12

ลำดับแรก ให้ผู้เรียนทำคนเดียวก่อน (individual work) ให้ผู้เรียนคิดถึงคำที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่จะทำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หัวข้อที่จะให้ผู้เรียนทำควรจะเป็นหัวข้อที่ใหญ่และกว้างเพียงพอ
ที่ผู้เรียน จะหาคำมาเติม ลงได้ครบทุกตัวอักษร คำที่ผู้เรียนนำมาเติมไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับใดๆทั้งสิ้น ขอเพียงให้ผู้เรียนพยายามคิด และเขียนออกมาให้มากที่สุดเท่านั้น เรียกขั้นตอนนี้ว่าเป็นการให้ผู้เรียนระคมความคิด (brain storm)

ตัวอย่างหัวข้อที่จะใช้เทคนิคการระดมความคิดแบบเอบีซีคือ World War II (สงครามโลกครั้งที่ 2) ผู้เรียนอาจจะใส่ว่า Allies (ฝ่ายพันธมิตร) Bombers (มือระเบิด) Concentration Camps, Dachau, Europe, French Resistance และคำต่อๆไป

ผู้สอนต้องให้เวลาแก่ผู้เรียนอย่างเพียงพอเพื่อที่ผู้เรียนจะได้มีเวลาคิด เมื่อผู้เรียนใช้เวลาพอสมควรแล้ว ให้ผู้เรียนจับคู่กันเพื่อทำงานคู่ (Think-
Pair Share) หรือ ทำกลุ่มเล็กๆ เพื่อทำงานกลุ่ม วัตถุประสงค์ของกิจกรรมในขั้นตอนนี้เพื่อให้ผู้เรียนแบ่งปันคำที่แต่ละคนคิดและเขียนขึ้นมา รวมทั้งช่วยกันเติมตรงตัวอักษรที่ยังว่างอยู่

หลังจากนั้นให้ผู้สอนเดินไปถามผู้เรียนในแต่ละคู่ แต่ละกลุ่ม ว่าคิดและเขียนคำใดได้บ้าง ให้ผู้เรียนรายงานออกมาดังๆ เพื่อให้เพื่อนร่วมชั้นฟัง ผู้สอนอาจจะต้องเผื่อใจให้กับคำที่ผู้เรียนคิดและเขียนออกมานั้นอาจเป็นคำเหนือความคาดหมาย พยายามให้ผู้เรียนเข้าใจว่าผู้สอนไม่ได้ต้องการ
คำตอบที่ถูกต้องแม่นตรง แต่ผู้สอนต้องการคำที่เกี่ยวข้องและพอใช้ได้เท่านั้น

2. กิจกรรมการระดมความคิดแบบเอบีซีเพื่อการสอนแบบบูรณาการ
ผู้สอนอาจปรับวิธีนี้เพื่อการสอนแบบบูรณาการ โดยเน้นการเขียนระดับประโยคได้ดังนี้
ผู้สอนจะให้ผู้เรียนเขียนเรื่อง “My Wonderful Mom”
ผู้สอนให้ผู้เรียนคิดว่าจะมีคำใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่หรือความรักความเอาใจใส่ของแม่ที่มีต่อลูกแล้วให้เขียนคำนั้นลงไปใน
แผนภาพมากที่สุดเท่าที่จะมากได้

รอบที่ 1 ผู้เรียนคิดคำที่เกี่ยวข้อง อาจมีดังนี้ admire, behave, care, diligence, energy, fight, goal, house-core,
ideal, jelly, kinetic, love ….
รอบที่ 2 ผู้เรียนอธิบาย หรือ ให้เหตุผลที่คิดคำนี้ขึ้นมา
รอบที่ 3 ผู้เรียนเขียนประโยคที่สื่อความคิดของคำที่เกี่ยวข้องที่ผู้เรียนเสนอ
รอบที่ 4 ผู้เรียนแลกประโยคที่เขียนและตรวจความถูกต้องกับเพื่อน
รอบที่ 5 ผู้เรียนอ่านประโยคที่แก้ไขให้เพื่อนในชั้นฟัง
รอบที่ 6 ผู้เรียนอื่นๆ ร่วมแสดงความคิดเห็น

หลังจากระดมความคิดแล้ว ให้ดูผลที่ได้เพื่อทำการประเมินคำหรือข้อความที่ผู้เรียนเขียน โดยพิจารณาคำหรือข้อความว่ามีคุณสมบัติต่อไปนี้

แนวความคิดหรือความคิดเกี่ยวข้องกับหัวข้อหรือเนื้อหาที่กำลังทำหรือไม่
มองหาคำตอบที่ซ้ำๆหรือเหมือนกัน
จัดกลุ่มแนวความคิดหรือความคิดที่เหมือนกันเข้าด้วยกัน
ตัดคำหรือข้อความที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหรือเนื้อหาออกไป
อภิปรายแนวความคิดหรือความคิดกับผู้เรียน ให้เน้นว่าคำหรือข้อความที่ผู้เรียนตอบนั้นแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนเข้าใจเรื่องที่กำลังทำ
หัวข้อที่เหมาะสมสำหรับเทคนิคการระดมความคิดแบบเอบีซี
ควรเป็นเรื่องที่กว้างและเกี่ยวข้องกับผู้เรียน เช่น รัฐบาล ศาสนา สงคราม ภูมิประเทศบริเวณ หรือเป็นหัวข้อเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้เรียนเพิ่งได้ศึกษาจะเป็นการทบทวนที่ดี อาจจะเป็นหัวข้อเกี่ยวกับ ช่วงทศวรรษต่างๆ ยุคสมัยต่างๆ ของมนุษย์ก็ได้ หรือแม้กระทั่งหัวข้อที่แคบเช่น รัฐธรรมนูญ พระมหากษัติรย์ไทย อาจเป็นเรื่องที่น่าจะลองทำดูได้
การบรรยายด้วยภาพเป็นการบรรยายเรื่องที่อ่านด้วยภาพ หรือ แผนภูมิ

ผู้สอนสามารถเรียกการบรรยายด้วยภาพได้หลาย ๆ แบบ เช่น webs, maps, concept maps การบรรยายด้วยภาพเป็นพื้นฐานในการที่จะนำเสนอข้อมูลด้วยภาพ โดยผู้สอนสามารถสร้างแผนผังที่จะจัดเรียงข้อมูลดังนี้

ข้อมูลเกี่ยวข้องกับใจความสำคัญ (main ideas) หัวข้อย่อย (subtopics) และ รายละเอียด (details)
ข้อมูลที่ต่อเนื่องกัน (in sequence)
ข้อมูลที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ
ข้อเปรียบเทียบและเปรียบต่างระหว่างสิ่งของหรือแนวความคิดตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป
ข้อมูลที่เป็นองค์ประกอบในเรื่อง
ข้อมูลที่ผู้สอนคิดขึ้นมาเองตามต้องการ
รูปแบบในการทำการบรรยายด้วยภาพมีจำนวนมาก อาจดูได้จากหนังสือ คู่มือ และ คำแนะนำต่างๆ สำหรับบทนี้จะนำเสนอการใช้ การบรรยาย ด้วยภาพอย่างง่าย เพื่อช่วยให้เพิ่มศักยภาพด้านความคิด
เทคนิคการทำกิจกรรม
มีผู้เรียนจำนวนหนึ่งที่มีความสามารถในการจินตนาการภาพ วาดภาพ หรือมองหลายสิ่งออกมาอย่างเป็นรูปธรรม เปรียบเหมือนภาพ 1 ภาพ มีค่าเท่ากับคำนับพันคำที่จะนำมาใช้ในการบรรยายเรื่องๆ หนึ่ง ดังนั้น ผู้สอนจึงควรวางแนวความคิดว่าจะจัดเรียงความคิด (ideas) ความจริง (facts) และแนวความคิด (concepts) อย่างไรให้เป็นรูปธรรม การบรรยายด้วยภาพเป็นเทคนิคหนึ่งในการที่จะช่วยให้ผู้เรียนจัดเรียงข้อมูล ออกมาเป็นรูปธรรม เพื่อช่วยในการจดจำ นำมาใช้ได้ง่าย เนื่องจากข้อมูลมีการจัดเรียงเป็นขั้นตอนและเป็นหมวดหมู่

ผู้สอนอาจใช้รูปแบบต่าง ๆ เช่น กล่อง รูปสี่เหลี่ยม วงกลม รูปไข่ หรือรูปร่างต่าง ๆ เพื่อบรรจุข้อมูล แล้วลากเส้นเชื่อมโยงกัน ผู้เรียนอาจแสดง ข้อมูลตามลำดับขั้น หรือตามความสำคัญ เช่น ใจความสำคัญ (main ideas) หัวข้อย่อย (subtopics) และ รายละเอียด (details) หรือ แสดงเป็นการเปรียบเทียบ ดังใน แผนภาพ เวนน์ (Venn Diagram) หรือตารางแสดงการเปรียบเทียบและเปรียบต่าง จากแผนภาพและตาราง เหล่านี้ ผู้เรียนสามารถเห็นและเข้าใจลำดับ ขั้นตอนของกระบวนการ (process) ผู้เรียนอาจเขียนแสดงบุคลิก สิ่งของ การทำงานของบุคคล และ ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ในเรื่องที่อ่าน อาจเขียนแผนภาพการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ หรือ อาจเขียนแผนภาพแสดงเป็นความสัมพันธ์
ต่อเนื่องกันแบบใยแมงมุม ก็ได้

ตัวอย่างของการบรรยายด้วยภาพ ในที่นี้มี 2 ตัวอย่าง คือ โซ่แสดงความสัมพันธ์ต่อเนื่องของเหตุการณ์ และแผนภาพแสดงการต่อเนื่องของเวลา

1. โซ่แสดงความสัมพันธ์ต่อเนื่องของเหตุการณ์ (Chain of Events) แผนภาพแบบนี้ใช้แสดงความสัมพันธ์ต่อเนื่องของเหตุการณ์ หรือขั้นตอนของกระบวนการต่างๆ
กุญแจสำคัญ คือ ต้องทราบว่าเหตุการณ์ใดเป็นเหตุการณ์แรก เหตุการณ์ใดเป็นเหตุการณ์ที่สอง หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในลำดับต่อมา เหตุการณ์หนึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดเหตุการณ์อีกเหตุการณ์หนึ่งได้อย่างไร และ ผลลัพธ์ท้ายสุดคืออะไร
เทคนิคการอ่านแบบการเน้นใจความสำคัญนี้มีวิธีตรงตามชื่อ คือ เลือกขีดเส้นใต้ข้อความที่ผู้อ่านเห็นว่าจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องที่อ่าน การใช้สีป้ายข้อความให้เด่นขึ้นมา (highlighting) ก็ถือว่าเป็นเทคนิคการอ่านแบบ การเน้นใจความสำคัญเหมือนกัน

เทคนิคการอ่านแบบการเน้นใจความสำคัญนี้มีประโยชน์มากโดยเฉพาะเมื่อเรียนระดับอุดมศึกษา ผู้พัฒนาเทคนิคนี้กล่าวว่า ไม่เพียงแต่ผู้เรียน จะอ่านบริเวณที่ได้เลือกขีดเส้นใต้ข้อความเท่านั้น แต่ผลจากการขีดเส้นใต้ข้อความมีส่วนทำให้ผู้เรียนอยากอ่านขึ้นมา โดยเฉพาะเมื่อได้ทำการ ใช้สีป้ายข้อความ ซึ่งเป็นผลทางจิตใจ ทำให้ผู้เรียนมั่นใจว่าได้อ่านส่วนนี้ไปแล้วและได้สรุปเน้นใจความหรือข้อความสำคัญไว้แล้วด้วย ดังนั้น ต้องสอนวิธีนี้แก่ผู้เรียนอย่างชัดเจน ให้ผู้เรียนมีเวลาในการฝึก และกระตุ้นให้ผู้เรียนทำกิจกรรมนี้ให้สำเร็จ

เทคนิคการทำกิจกรรม
ทำได้หลายวิธี ผู้สอนอาจเริ่มจากชักชวนให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของ “เทคนิคการอ่านแบบการเน้นใจความสำคัญ” ว่าวิธีนี้ดีและมีประโยชน์
แก่ผู้เรียน ผู้เรียนต้องอ่านหนังสือหรือตำราจำนวนมาก เมื่ออ่านไปแล้ว ผู้เรียนมักจะลืม จำไม่ได้ว่าได้อ่านเรื่องอะไร และมีใจความสำคัญหรือ รายละเอียดอะไรบ้าง ผู้เรียนอ่านหนังสือหรือตำรา 1 เล่มใช้เวลาเป็นปีๆ แต่เวลาผ่านไปก็ลืม ต่อไปนี้เป็นเทคนิคการอ่านแบบการเน้นใจความสำคัญ

เริ่มต้น ต้องให้ผู้เรียนตระหนักว่าสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องอ่านไม่ได้อยู่ในหนังสือหรือตำราเท่านั้นและอาจเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้
ให้พิจารณาเนื้อหาและแหล่งข้อมูลที่เหมาะสม เช่น หนังสือพิมพ์ ซึ่งจะเป็นแหล่งข้อมูลที่จะช่วยในการเรียนและฝึก “เทคนิคการอ่าน
แบบการเน้นใจความสำคัญ” ในขณะเดียวกันผู้เรียนจะได้ความรู้แขนงวิชาด้วย
การสอน “เทคนิคการอ่านแบบการเน้นใจความสำคัญ” ผู้สอนจะต้องถ่ายเอกสารประมาณ 1-2 หน้ามาให้ผู้เรียนฝึก แจกเอกสารนี้ แก่ผู้เรียน ถ่ายเอกสารลงบนแผ่นใสสำหรับผู้สอนเอง เพื่อใช้เป็นต้นแบบและตัวอย่างให้ผู้เรียนฝึก หากมีอุปกรณ์เพียงพออาจให้ ผู้เรียนฝึกทำจากแผ่นใสเลย หรือทำลงในกระดาษที่แจกแล้ว นำมาเสนอในชั้นเรียน
ลองใช้เทคนิคนี้ร่วมกับเทคนิคพลังแห่งการคิด (power thinking) ผู้เรียนอาจใช้กรอบสี่เหลี่ยมสำหรับพลังแห่งการคิด 1 ใช้วงกลมสำหรับพลังแห่งการคิด 2 และขีดเส้นใต้สำหรับพลังแห่งการคิด 3

ผู้เรียนอาจใช้ปากกาสีต่างกันเมื่อจะขีดเส้นใต้ข้อความ เช่น สีน้ำเงินสำหรับ พลังแห่งการคิด 1 สีแดงสำหรับพลังแห่งการคิด 2 และสีเขียวสำหรับพลังแห่งการคิด 3

ให้ผู้เรียนฝึกการขีดเส้นใต้ในขณะอ่านเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น ขีดเส้นใต้คำศัพท์ที่สำคัญพร้อมทั้งคำจำกัดความและคำอธิบาย และใช้ข้อมูลนี้ในการอ่านเพื่อค้นหาคำศัพท์คำใหม่แต่มีความหมายเหมือนกัน หรือ อาจให้ผู้เรียนขีดเส้นใต้ข้อความที่เป็นเหตุและผล ความจริงและความเห็น หรือข้อมูลที่สนับสนุนประโยคหลัก ซึ่งวิธีนี้จะเป็นประโยชน์เมื่อใช้ร่วมกับเทคนิคการคิด--พิสูจน์ (Opinion proof) ข้อจำกัดของเทคนิคนี้มีเพียงจินตนาการของผู้สอนเท่านั้นว่าจะกว้างไกลหรือแคบเพียงใดในการที่จะประยุกต์ใช้

Annolighting” มาจากคำว่า Annotation และ Highlight
Annotation หมายถึง คำอธิบายหรือหมายเหตุประกอบ และ Highlight หมายถึง ระบายสีเน้นข้อความ
ผู้สอนส่วนมากจะเคยแนะนำให้ผู้เรียนขีดเส้นใต้หรือระบายสีข้อความที่สำคัญในขณะที่ผู้เรียนอ่านหนังสือ และจะพบว่าผู้เรียนจะขีดเส้นใต้หรือระบายสีคำแทบทุกคำที่ปรากฏอยู่ในหน้านั้น ผลงานวิจัยทางการเรียนรู้ภาษาชี้ให้เห็นว่าการขีดเส้นใต้หรือระบายสีข้อความที่สำคัญในขณะที่ผู้เรียนอ่านหนังสือเป็นเทคนิคในการอ่านวิธีหนึ่ง ซึ่งจะต้องมีการสอนให้คำแนะนำอย่างถูกวิธีแก่ผู้เรียนและมีการฝึกอย่างถูกต้องด้วย หากผู้เรียนทำได้ถูกต้องจะช่วยให้การอ่านมีประสิทธิภาพมาก แต่หากผู้เรียนทำได้ไม่ถูกต้องจะช่วยให้การอ่านไม่ประสบผลสำเร็จไปเลย จะทำให้เป็นการเสียเวลาและน้ำหมึกของผู้เรียน วิธี “การเน้นข้อความสำคัญ” เป็นการรวมเอาวิธีการระบายสีข้อความและการเขียนคำอธิบายหรือหมายเหตุประกอบคำหรือข้อความที่สำคัญนั้น โดยเขียนที่บริเวณขอบซ้ายขวาหรือบนล่างของหน้าในหนังสือที่ผู้เรียนอ่าน

การนำวิธีการเน้นข้อความสำคัญไปใช้
ตั้งคำถามในขณะที่อ่านเพื่อช่วยให้อ่านเข้าใจมากขึ้นและง่ายขึ้น
วิเคราะห์และแปลความหมายของส่วนประกอบของร้อยแก้วหรือร้อยกรอง
หาข้อสรุปและสมมุติฐานจากข้อมูลที่เขียนไว้ชัดเจน (explicit) หรือโดยนัย (implicit)
explicit เช่น ความจริง (fact) สิ่งที่พิสูจน์ได้ (proof)
implicit สิ่งที่ผู้เขียนไม่ได้กล่าวตรงๆ ผู้อ่านต้องตีความ ทำความเข้าใจเอง
วัตถุประสงค์ของวิธีการเน้นข้อความสำคัญ

จับใจความสำคัญ/แนวคิดหลัก/รายละเอียดในการอ่าน
กำหนด ลด หรือกลั่นเอาเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นจากเรื่องที่อ่านเท่านั้น
ลดเวลาในการศึกษาทบทวนลงเมื่อกลับมาอ่านอีกครั้งทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เวลาและความพยายามอุตสาหะ เพิ่มความเข้มข้นเข้มแข็ง (Strengthen) ในการอ่านเพื่อความเข้าใจ

วิธีทำการเน้นข้อความสำคัญ
1. ตั้งวัตถุประสงค์ในการอ่านของตนอย่างเฉพาะเจาะจงว่าต้องการอ่านเพื่ออะไร เช่น ต้องการ:

จับใจความสำคัญเท่านั้น
หาข้อมูลสนับสนุนหรืออ้างอิง
หาคำจำกัดความ ความหมาย ตัวอย่างของคำศัพท์
คัดสรรเฉพาะตัวอย่างที่เยี่ยมยอดของผู้เขียน
เมื่อมีวัตถุประสงค์ในการอ่านที่ชัดเจนแน่นอนแล้ว ให้ขีดเส้นใต้หรือระบายสีข้อความที่ตรงกับวัตถุประสงค์ในการอ่านของตน

2. อย่าด่วนขีดเส้นใต้หรือระบายสีข้อความใดๆ

ในการอ่านรอบแรก ให้แบ่งข้อความที่จะอ่านในแต่ละหน้าออกเป็นส่วนๆ และอ่านแต่ละส่วนหนึ่งครั้งอย่างรวดเร็วโดยอ่านผ่านๆก่อน
เพื่อจะได้ทราบคร่าวๆ ว่าส่วนที่อ่านนี้เกี่ยวข้องกับอะไร แล้วอ่านแต่ละส่วนอีกเป็นครั้งที่สองและให้ขีดเส้นใต้หรือระบายสีข้อความ
ที่สำคัญในรอบที่สองนี้ หากผู้เรียนขีดเส้นใต้หรือ ระบายสีข้อความตั้งแต่รอบแรกที่อ่านผู้เรียนอาจจะยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับ
ใจความสำคัญ/แนวคิดหลัก หรือรายละเอียดที่สำคัญ/ที่เกี่ยวข้อง

3. ลบคำที่ไม่จำเป็นออกไปทุกคำจากแต่ละประโยคโดยใช้วิธี “telegraphic highlighting” วิธี “telegraphic highlighting” จะช่วยให้ผู้เรียนรักษาความหมายและความสำคัญของข้อความที่อ่านไว้ เมื่อกลับมาอ่านอีกครั้ง ผู้เรียนจะมีความเข้าใจข้อความที่อ่าน
ได้ทำ “telegraphic highlighting” ไว้ บางครั้งอาจต้องตัดคำทิ้งประมาณ 6 - 20 คำจากหนึ่งประโยค แต่หากข้อความที่ได้ทำ
“telegraphic highlighting” นั้นยาวเกินไปแสดงว่ามีคำที่ไม่จำเป็นต้องตัดออกอีก ทั้งข้อความที่ยาวๆ นี้จะทำให้เสียเวลาอ่าน
มากกว่าที่จำเป็นอีกด้วย

หากข้อความที่อ่านไม่ได้ตรงกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการอ่านของผู้เรียนอย่างยิ่งยวดแล้วผู้เรียนควรขีดเส้นใต้หรือระบายสี
ข้อความทุกคำทั้งหน้าให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

4. ผู้เรียนอาจต้องใช้สีหลายสีสำหรับระบายข้อความ ตัวอย่างเช่น สีหนึ่งสำหรับระบายใจความสำคัญ อีกสีหนึ่งสำหรับระบายข้อความ
ที่สนับสนุนใจความสำคัญ วิธีนี้จะช่วยในการจัดเรียงข้อมูลให้ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนมาศึกษาหรือเก็บเอกสาร เพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์ เช่น
รายงาน นิทรรศการ หรือโครงงานเพื่อให้เห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจนหรือเพื่อตั้งคำถามในขณะที่อ่านผู้เรียนอาจใช้สีแตกต่างกัน
เพื่อแยกว่าข้อมูลนี้เป็นความจริงหรือเป็นความเห็น


การระดมความคิดแบบหมุนเวียนเป็นวิธีการฝึกให้ผู้เรียนคิดและดึงเอาความรู้เดิม (background knowledge) หรือความรู้พื้นฐานของ หัวข้อย่อยๆ ที่อยู่ภายใต้หัวข้อใหญ่ออกมาก่อนจะเรียนเรื่องใหม่ต่อไป หรือ เพื่อตรวจสอบความเข้าใจหลังการเรียนของผู้เรียน

เทคนิคการทำกิจกรรม
เริ่มต้นโดยแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มละ 3-4 คน แต่ละกลุ่มมีกระดาษที่เป็นบรรทัดหรือตารางให้เติม เรียกว่า ใบงานการระดมความคิด แบบหมุนเวียน (Carousel Brainstorm sheet) แต่ละกลุ่มจะมีใบงานการระดมความคิดแบบหมุนเวียน ที่มีหัวข้อย่อยที่แตกต่างกัน ให้ผู้เรียนหนึ่งคนทำหน้าที่เป็นผู้บันทึกและมีปากกาสีพิเศษ แต่ละกลุ่มมีปากกาคนละสี บอกผู้เรียนว่าผู้เรียนมีเวลาสั้นๆ (ประมาณ 30 วินาที) ในการที่จะคิดและเขียนสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อย่อยลงไปในใบงานการระดมความคิดแบบหมุนเวียน ให้คิดและเขียนให้มากที่สุด เท่าที่จะเขียนได้ และอธิบายต่อว่าเมื่อครบ 30 วินาทีแล้วจะต้องส่งใบงานการระดมความคิดแบบหมุนเวียนของกลุ่มตัวเองไปให้กลุ่มข้างๆ โดยกำหนดทิศทางการส่งให้เป็นไปในทางเดียวกัน ดังนั้น ทุกกลุ่มจะได้หัวข้อใหม่เข้ามาเรื่อยๆ ให้ทำเหมือนครั้งแรก คือ คิดและเขียนสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อย่อยลงไปในใบงานการระดมความคิดแบบหมุนเวียน ให้คิดและเขียนให้มากที่สุดเท่าที่จะเขียนได้ เมื่อครบ 30 วินาที หรือเมื่อครบเวลาที่จะต้องส่งให้กลุ่มต่อไป เมื่อมีการส่งผ่านไปสัก 4-5 ครั้งให้เพิ่มเวลามากขึ้นเพราะ ความคิดง่าย ๆ จะถูกเขียนลงไป โดยกลุ่มก่อนหน้าแล้ว จึงต้องให้เวลาผู้เรียนในการคิดมากขึ้น พยายามให้ผู้เรียนได้คิดและเขียนสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องลงไปในใบงาน การระดมความคิดแบบหมุนเวียน และก็ส่งไปเรื่อย ๆ จนใบงานการระดมความคิดแบบหมุนเวียนของกลุ่มตนที่เขียนในครั้งแรกวนมาอยู่ที่เดิม จึงจบรอบ ให้ผู้เรียนระดมความคิด อภิปรายในกลุ่มว่าข้อมูลในใบงานการระดมความคิดแบบหมุนเวียนของตน ถูกต้องหรือไม่ เห็นด้วยหรือไม่ แล้วให้แต่ละกลุ่มมารายงานหน้าชั้นเป็นภาษาอังกฤษ

ในการทำกิจกรรมนี้ ผู้เรียนต้องอ่านหนังสือในเรื่องที่เกี่ยวข้องมาก่อน กิจกรรมนี้ใช้ได้ดีในทุกวิชา ให้ผู้สอนเริ่มต้นกิจกรรมนี้ในตอนต้นชั่วโมง เลย กลุ่มที่เตรียมตัวมาดีหรืออ่านหนังสือมาล่วงหน้าจะทำได้ดีมาก และจะเป็นการกระตุ้นให้กลุ่มที่เหลือสนใจเตรียมตัวก่อนมาเรียน

“การระดมความคิดแบบหมุนเวียน” เหมือนกับ “Graffiti” หรือไม่
กิจกรรมทั้ง 2 ชนิดนี้ เกือบจะเหมือนกันทั้งหมดแต่จะแตกต่างกันตรงที่ Graffiti จะเอาใบงานหรือแผ่นกระดาษที่ผู้เรียนใช้ในการเขียนข้อมูล ติดไว้ตรงฝาผนังแล้วให้ผู้เรียนเปลี่ยนกันเข้าไปเขียนแต่ การระดมความคิดแบบหมุนเวียนจะให้ผู้เรียนนั่งอยู่กับที่ แล้วส่งผ่านแผ่นกระดาษไป แบบ Graffiti อาจจะเหมาะสำหรับผู้เรียนระดับประถมและจำนวนผู้เรียนในห้องมีน้อย ส่วน การระดมความคิดแบบหมุนเวียน อาจจะเหมาะ สำหรับผู้เรียนระดับมัธยม หรือระดับอุดมศึกษา และห้องเรียนขนาดใหญ่

จะทำอะไรเพิ่มได้อีกหรือไม่
เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดวิเคราะห์ หรือคิดเปรียบเทียบ ให้ผู้เรียนทบทวนข้อมูลในใบงานการระดมความคิดแบบหมุนเวียนของกลุ่มตัวเอง ที่ได้จากการส่งผ่านครบรอบแล้วอีกครั้ง อ่านและศึกษาความคิดของกลุ่มอื่น ๆ ที่ถูกใส่เพิ่มลงไป หลังจากนั้นให้วงกลมความคิดสามความคิด ที่คิดว่าสำคัญมากที่สุด มีความเกี่ยวข้องมากที่สุด เป็นข้อมูลพื้นฐานมากที่สุดของหัวข้อนั้น ๆ วิธีนี้จะเป็นการให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดวิเคราะห์ เพิ่มขึ้น ในบางครั้งผู้เรียนอาจจะแทบไม่ต้องใช้เวลาคิดในการที่จะเขียนวงกลมลงไปในข้อมูลที่มีในใบงานการระดมความคิด แบบหมุนเวียน แต่ในบางครั้งผู้เรียนก็ต้องใช้เวลามากเหลือเกินก่อนที่จะเขียนวงกลมเลือกข้อมูลได้ และเมื่อผู้เรียนใช้เวลามาก ผู้สอน ก็จะทราบได้ว่าผู้เรียนได้ใช้ ความคิดในการเลือกข้อมูลว่าสำคัญมากที่สุด มีความเกี่ยวข้องมากที่สุด เป็นข้อมูลพื้นฐานมากที่สุด หลังจากนั้น ให้ผู้เรียนเขียนคำนิยาม คำอธิบายถึงหัวข้อที่ได้รับมา ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วคำอธิบายที่ได้จะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความคิดสามความคิดที่ผู้เรียนได้วงกลมไว้ในตอนแรก และต่อจากนั้นให้ผู้เรียนมาอภิปราย จะทำให้ได้คุณค่าของการทำกิจกรรมนี้เพิ่มมากขึ้น
ความคิด-การพิสูจน์ เป็นการเขียนบันทึกในคอลัมน์ ความคิด-การพิสูจน์ ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ผู้เรียนใช้พลังความคิดของผู้เรียนเกี่ยวกับ เนื้อหาที่จะเรียนและใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยใช้หลักที่ว่า ความคิดเห็นนั้นควรจะถูกกระตุ้นให้มีความสำคัญ แต่ต้องการ สนับสนุนความคิดเห็นนั้น โดยมีหลักฐานสนับสนุน เช่น ความคิด ข้อเท็จจริง และ แนวความคิด ทฤษฎีต่างๆ ที่พบได้ในหัวข้อที่กำลังศึกษาอยู่
เทคนิคการทำกิจกรรม
กิจกรรมความคิด-การพิสูจน์ ใช้ตารางที่ประกอบด้วย 2 คอลัมน์ คอลัมน์ซ้ายชื่อว่า ความคิดเห็น (Opinion) คอลัมน์ขวาชื่อว่า ข้อพิสูจน์ หรือ สนับสนุน (Proof ) คอลัมน์ซ้ายซึ่งเป็นความคิดเห็นนี้ อาจเป็นความคิดเห็นที่ผู้สอนได้มอบหมายให้ผู้เรียนไปทำหรือความคิดเห็นของผู้เรียน เอง จากนั้นให้ผู้เรียนไปหาข้อมูลที่จะสนับสนุนความคิดเห็นจากสื่อต่างๆ เช่น ตำรา วิดิทัศน์ หนังสือพิมพ์ เรื่องราวต่างๆ หรือ แหล่งข้อมูลอื่นๆ เขียนข้อมูลที่จะสนับสนุนความคิดเห็นนี้ลงในคอลัมน์ขวาซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ หรือ สนับสนุน (Proof ) ผู้เรียนสามารถใช้แผนผังความคิด-การระดมความคิด
การอ่านแบบ SQ4R เป็นเทคนิคการสอนเพื่อการสื่อสาร
เทคนิคการสอนอ่านแบบ SQ4R
เทคนิคการสอนอ่านแบบ SQ4R เป็นการสอนเพื่อการสื่อสารประกอบด้วยทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน เพราะในชีวิตประจำวันการอ่านสิ่งใดก็จะอ่านอย่างมีจุดประสงค์
และการสอนแบบ SQ4R มี 6 ขั้นตอน คือ
1. (S) Survey เป็นการอ่านอย่างคร่าว ๆ เพื่อหาจุดสำคัญของเรื่อง
2. (Q) Question เป็นการตั้งคำถามจากเรื่องที่อ่าน
3. (R) Read เป็นการอ่านเพื่อจับใจความและจับประเด็นสำคัญ ๆ
4 (R) Record เป็นการจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ที่อ่าน โดยใช้ข้อความอย่างย่อ ๆ ตามความเข้าใจของผู้เรียน
5. (R) Recite เป็นการเขียนสรุปใจความสำคัญ โดยใช้ภาษาของตนเอง
6. (R) Reflec เป็นการวิเคราะห์ วิจารณ์ บทอ่านที่ผู้เรียนได้อ่านแล้วแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่ผู้เรียนมีความคิดเห็นสอดคล้อง

2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณเทคนิคดีๆในการอ่านภาษาอังกฤษนะคะ

ผักบุ้งลุยสวน กล่าวว่า...

ยาวจัง ภาษายากอ่านไม่เข้าใจความหมายครับ เหมือนอ่านหนังสือเรียนเลย